ReadyPlanet.com


เหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel) AISI 410 & AISI 420


 เหล็กกล้าผสมในกลุ่มของเหล็กกล้าไร้สนิม  (Stainless Steel) ตามมาตรฐาน AISI 410 (UNS S41000) และ AISI 420 (UNS S42000)

 
เหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel) AISI 410 และ AISI 420 เป็นเหล็กกล้าไร้สนิมในกลุ่มมาร์เทนซิติก (Martensitic Stainless Steel) โดยปกติเหล็กใน
กลุ่มนี้จะมีโครเมียมผสมอยู่ระหว่าง  11 - 20%  เหล็กกล้าไร้สนิมในกลุ่มนี้มีคุณสมบัติพิเศษคือ มีความแข็งและทนการกัดกร่อนที่ดีมาก  ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับ
ปริมาณของคาร์บอนและโครเมียมที่ผสมอยู่ว่ามีจำนวนมากน้อยเท่าไหร่  เหล็กกล้าไร้สนิมกลุ่มนี้มีอยู่หลายมาตรฐาน  แต่ในที่นี้จะใช้มาตรฐาน AISI
ซึ่งจะประกอบด้วย  AISI 403, 410, 414, 416, 416 (Se), 420, 420F, 431, 440A, 440B, 440C และ 501
 
โดยปกติเหล็กกล้าไร้สนิมในกลุ่มนี้จะมีคาร์บอนผสมอยู่ระหว่าง  0.10 - 1.20%  ในบางครั้งจำนวนโครเมียมที่มากเพียงพอ  และมีคาร์บอนเพียง  0.10% 
ก็สามารถทำให้ได้โครงสร้างมาร์เทนไซต์  100%  ความสามารถของเหล็กกล้าไร้สนิมในกลุ่มนี้  ถึงจะมีความแข็งสูงและทนการกัดกร่อนได้ดีหลังการ
ชุบแข็ง  แต่ก็มีจุดอ่อนที่เชื่อมได้ยากมาก  และมักมีการแตกร้าวภายหลังการเชื่อมได้  โดยทั่วไปมักขึ้นรูปชิ้นงานกัดแต่งและแปรรูปเย็นก่อนการชุบแข็ง
 
ในที่นี้จะกล่าวถึงเหล็กกล้าไร้สนิม  AISI 410 และ AISI 420 โดยทั้งสองเกรดมีส่วนผสมของคาร์บอนเท่ากัน  คือไม่เกิน  0.15%  ส่วนโครเมียม  410 จะมี
อยู่ระหว่าง  11.50 - 13.50%  และ  420  จะมี  12.00 - 14.00%  ในธาตุต่างๆคือ  แมงกานีส  ซิลิคอน  พอสฟอรัส และซัลเฟอร์  จะมีส่วนผสมอยู่เท่ากัน
หลังผ่านการชุบแข็ง  เหล็กกล้าไร้สนิม 410 จะแสดงให้เห็นคุณสมบัติทางกลที่สูงขึ้นอย่างมาก  และไม่ว่าจะผ่านการชุบแข็งหรือไม่ก็จะมีคุณสมบัติทาง
แม่เหล็ก  คือพูดง่ายๆคือแม่เหล็กจับติด  เหล็กกล้าไร้สนิม 410 หลังจากผ่านการชุบแข็ง  จะสามารถทนการกัดกร่อนของสารเคมีได้ในระดับปานกลาง
ถึงดีมาก แต่มีความสามารถทนแรงดึงได้สูง  เหมาะที่จะนำไปใช้เป็นอุปกรณ์เครื่องจักร  เหล็กกล้าไร้สนิม 410 ถ้าต้องให้มีคุณสมบัติในการทนการกัด
กร่อนของกรดด่างได้สูงสุด  ต้องนำไปชุบแข็ง  อบอ่อน  และขัดผิวให้เรียบมัน  และอย่างที่กล่าวมาแล้ว  ยังสามารถเชื่อมได้แต่ก็เกิดการแตกร้าวได้ง่าย
เช่นกัน ส่วนอุณหภูมิขึ้นรูปชิ้นงานร้อนอยู่ระหว่าง 2000 °F (1093.33 °C) ถึง 2200 °F (1204.44 °C) ในขณะเดียวก็สามารถขึ้นรูปเย็นหรือหลอมให้อ่อน
ตัวและทำให้เย็นลงได้เช่นเดียวกัน  ฉะนั้นจากคุณสมบัติอย่างกว้างขวางของเหล็กกล้าไร้สนิมชนิดนี้  อาจกล่าวได้ว่าเป็นเหล็กกล้าไร้สนิมที่นำไปใช้งาน
ได้อย่างหลากหลายจุดประสงค์มากทีเดียว
 
เหล็กกล้าไร้สนิม AISI 420 โดยทั่วไปอาจเข้าใจว่าเหล็กกล้าไร้สนิมเกรดนี้  มีส่วนผสมของคาร์บอนมากกว่า 410  แต่จริงๆแล้วทั้งสองเกรดมีคุณสมบัติ
ทนการกัดกร่อนของกรดด่างได้ใกล้เคียงกัน  แต่เกรดนี้ถ้านำไปชุบแข็งที่อุณหภูมิเท่ากันกับ 410 จะได้ความแข็งมากกว่าและมีความแข็งแรงกว่า  และเช่น
เดียวกับ 410 เหล็กกล้าไร้สนิมเกรดนี้สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายจุดประสงค์เหมือนกัน  การที่มีโครเมียมผสมอยู่ต่ำสุดที่ 12% เป็นการบอกคุณ
สมบัติอย่างหนึ่งว่าสามารถทนการกัดกร่อนของกรดด่างได้อย่างดี  และจะดียิ่งขึ้นถ้าผ่านการชุบแข็งและขัดผิวให้มีความมันแวววาว
 
เหล็กกล้าไร้สนิมกลุ่มนี้  โดยทั่วไปกลุ่ม  410  และ 420 จะใช้กับงานที่ต้องการความแข็งของมาร์เทนไซต์  เช่น  สลักเกลียว  แป้นเกลียว  วาล์ว  ใบมีด
ตลับลูกปืน  เครื่องมือแพทย์  ใบมีดตัดทางกล  เครื่องมือ  มีใช้ในทั่วไปในงานปิโตรเคมี  อุตสาหกรรมอาหาร  โดยเฉพาะ  AISI 420  มักนำมาขึ้นรูปเป็น
โครงสร้างของตัววาล์วที่ใช้กับน้ำทะเล
 
เหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel)  AISI 410  เป็นวัสดุที่นำมาผลิตเป็น  สลักเกลียว (Bolts)  ตามมาตรฐาน  ASTM A193 Grade B6  และ  แป้นเกลียว 
(Nuts) ตามมาตรฐาน ASTM A194 Grade 6
 


ผู้ตั้งกระทู้ พิมาน :: วันที่ลงประกาศ 2012-02-23 08:55:50


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4044338)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ฺBob Rock วันที่ตอบ 2017-03-20 18:48:02


ความคิดเห็นที่ 2 (4351742)

 รบกวนเปรียบเทียบ Stainless steel 304 เทียบกับ AISI420 ด้วยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ณสิพงศ์ (nasiphong_k-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2022-05-13 08:47:41



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.