ReadyPlanet.com


การปรับปรุงคุณภาพของน็อต


สวัสดีครับ ตอนนี้ผมเรียนวิชา วัสดุศาสตร์วิศวกรรมครับ(Material Science) อยากจะขอความช่วยเหลือ ช่วยอธิบายผมนิดนึงครับ คือ อาจารย์ให้โจทย์มาครับว่า เมื่อมีวัสดุ หรือ ผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น เราอยากจะปรับปรุงให้ดีขึ้นยังไง ตอนนี้ผมเลยเห็นปัญหาของวัสดุชิ้นหนึ่งครับ "กันล้ม" ของรถมอเตอร์ไซต์ ยี่ห้อหนึ่งครับ ที่ติดตั้งกับหูหิ้วเครื่องพอใช้งานไปสักพักขาดขารูซะงั้น(วัสดุน่าจะเป็นอลูมิเนียมครับ) เพราะน็อตที่ใช้ล็อคกับตัวรถมันขาดครับ ที่นี้ถึงเรื่องของ Material เพราะวัสดุได้รับการผลิตไม่ถูกต้อง หรือ คุณภาพต่ำเกินไปหรือป่าวครับ มันจึงเป็นเช่นนั้น อาจเกิดจาก
- อุณหภูมิที่ใช้ในการผลิต
- การทำให้เย็นตัวของวัสดุ 
- ค่า อีลาสติก มอดุลัส ที่ทนต่อแรงสั่นของเครื่องยนต์ และ อุณหภูมิที่ออกมาจากเครื่องยนต์ด้วย(ตรงนี้ไม่น่าเกี่ยวเพราะคงไม่ทำให้น็อตถึงขั้นละลายได้)
อันนี้คือที่ผมคิดคร่าวๆครับ จึงอยากขอคำชี้แนะว่าผมคิดถูกต้องหรือไม่ครับ
 
สิ่งที่ผมต้องนำเสนอคือ 
- ปัญหาของวัสดุเดิม
- การปรับปรุง ปรับปรุงอย่างไร ไม่ต้องมีการคำนวณให้ดูครับ แต่ว่าอย่างน้อยผมคิดว่าควรมีอ้างอิงนิดนึงว่า เครื่องยนต์มันมีแรงสั่นเท่าไร(จากการประมาณ) แล้ววัสดุที่เราผลิตมามันทนได้แค่ไหน จึงอยากรบกวนชี้แนะหน่อยครับว่า เครื่องยนต์สั่นประมาณเท่าไร (หน่วยในทางวัสดุศาสตร์นะครับ) แล้วน็อตที่ผลิตได้มาตรฐานจริงๆทนได้เท่าไรครับ (หน่วยในทางวัสดุศาสตร์นะครับ) ขอบคุณครับ
 
 คำถามครับ
1.เราจะสามารถรู้แรงสั่น หรือ แรงกระทำที่ปล่อยออกมาจากเครื่องยนต์ จนทำให้น็อตขาดได้อย่างไรครับ และเป็นหน่วยอะไร 
 
2.ผมควรใช้สเปคไหนในการทำชิ้นงาน เพื่อไม่ให้แข็งเกินไปจนทำให้จุดยึดฉีกขาด และ ตัวมันเองสามารถทนแรงจากจุดยึดที่ส่งออกมาได้โดยที่ตัวมันเองไม่ขาดด้วย
 
ปล. ผมไม่ต้องสร้างชิ้นงานจริงครับ แต่ว่าต้องมีการอ้างอิงค่าต่างๆ และ ส่วนผสมของวัสดุที่นำมาใช้ผลิตครับ เพื่อเทียบว่ามันดีขึ้นยังไง ขอบคุณครับ
ปล2. อุปกรณ์ที่ว่า นึกถึงแท่งหนึ่งแท่ง มีรูตรงกลาง เราก็เอาน็อตใส่ไปในรูนั้นเพื้อที่อุปกรณ์จะยึดกับตัวรถครับ  ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูล

 



ผู้ตั้งกระทู้ TNC. :: วันที่ลงประกาศ 2014-12-04 01:18:14


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3012500)

สวัสดีครับ ผมยินดีครับ ก่อนอื่นผมต้องขอออกตัวก่อนว่าผมก็ไม่ได้มีความรู้เรื่องวัสดุศาสตร์มากนักหรอกครับ อาศัยจากการค้นคว้าจากตำหรับตำราเหมือนกันครับ

ผมเข้าใจหัวข้อและคำถามดีครับ หัวข้อที่ต้องวิเคราะห์คือ

1.) อุปกรณ์ขากันล้มมอเตอร์ไซต์ที่ว่า เป็นวัสดุอะไร การออกแบบเป็นอย่างไรในการรับแรงกดจากน้ำหนักรถมอเตอร์ไซต์ น้ำหนักที่กดลงบนชิ้นงาน

2.) ที่คิดว่าปัญหาเกิดจากวัสดุที่นำมาผลิต อาจจะไม่ใช่สมมุตฺฐานที่ถูกต้องก็ได้ครับ อาจเกิดได้จากหลายกรณีที่เราลืมไป เช่นการสึกหรอจากการใช้งานมาระยะหนึ่ง

3.) ที่บอกว่าตัวน็อต (Bolt หรือสลักเกลียว) ที่ยึดอยู่ขาดออกจากรูแป้นเกลียวที่ยึด อันนี้เป็นจุดประสงค์การออกแบบของวิศวกรครับ เพื่อไม่ให้ชิ้นส่วนหรือ body หลักของเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์มีความเสียหาย ซึ่งยากต่อการซ่อมแซมมากกว่าครับ วัสดุของอุปกรณืที่นำมาติดตั้งประกอบจึงต้องมีค่าแรงดึงทางกลศาสตร์ (Mechanical Property) ที่ต่ำกว่าเป็นเรื่องปกติครับ

4) เราจะรู้แรงสั่นหรือแรงกระทำที่ออกมาจากเครื่องยนต์ไม่ได้เลยครับ อันนี้ต้องสอบถามไปยังบริษัทผู้ผลิตครับ เพราะเครื่องยนต์ถูกติดตั้งกับบอดี้ของรถต์ มีหลายส่วนที่มาประกอบกันครับ

5) วัสดุที่นำจะนำมาทำชิ้นงาน ให้ย้อนกลับไปอ่านในข้อสามครับ คือต้องรู้คุณสมบัติของวัสดุที่นำผลิตเป็นเป็นจุดยึดก่อนครับ ถึงจะหาวัสดุที่จะที่จะนำมาผลิตเป็นขาตั้งได้ครับ

6) อย่างที่ผมบอกครับ การออกแบบชิ้นงานไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำผลิตอย่างเดียวครับ มีหัวข้อหลายอย่างที่ต้องคดมากมาย เช่น การใช้งาน น้ำหนักที่กระทำลงบนตัวชิ้นงาน อุณหภูมิการใช้งานรวมทั้งการเกิดสภาวะการเปลี่ยนแปลงอย่างอย่างเฉียบพลัน เช่นฝนตก การออกแบบชิ้นงาน การสึกหรอที่เกิดจากการใช้งาน พฤติกรรมการใช้งาน เช่นมีการกระแทกหรือโยนชิ้นงานหรือไม่ครับ

ผมอยากให้หาหนังสือ 3 เล่มต่อไปนี้มาอ่านครับ จะช่วยคุณได้เยอะทีเดียว

- โลหการ วิศวกรรม ของ ผศ.พรศักดิ์ อรรถวานิช

- วัสดุวิศวกรรม ของ ผศ.ณรงค์ศักดิ์ ธรรมโชติ

- กลศาสตร์วัสดุ ของ สิริสักดิ์ ปโยธรสิริ

คุณจะได้กำหนดวัสดุหลักและรองได้จากหนังสือเหล่านี้ครับ ผมอยากให้ค้นคว้าเองและความรู้มันจะอยู่กับเราตลอดไปครับ

กรณีต้องการติดต่อผมโดยตรงถ้ามีข้อสงสัย ติดต่อได้ที่ piman.t@autusbolts.com ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พิมาน ทิพย์สุวรรณ (welcome-at-autusbolts-dot-com)วันที่ตอบ 2014-12-09 11:24:57



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.